ประเพณียี่เป็ง

Yee Peng Festival.


The end of the rainy winter. Atmosphere of the beautiful sky. Indicates a close to the northern tradition, tradition favors again is "Yi Peng Festival."

Yi Peng Festival is Loy's north. Which falls on the 15th lunar month, or month over 12 brands of midland

Yi is 2-3 days before the date of the temples and houses are decorated Lanna front door and front temple sanctuary with Drongamaporngry fresh banana and sugar cane lamp Tung flowers are called "Praeoopnr" for the temple. the intent to create an atmosphere of fair set Luang. Or a sermon on Mahachat Yi Peng.

It also had a lamp such as lamp chandelier lamp bunny ears buzz, including at present called the "City Dog I. Phang (Phang is a small cup. I. City is its lamp) lamps do Okhamd to float in the water called "floating Okhamd" floating Okhamd Loy is sure enough.

In Lampang Province. Have made unfounded Okhamd shaped vessel known as "Long Bao sa" to commemorate his fifth Buddha.

Yi Peng, professor in Temple or Ceremony will Amecnriu Amhupayas rice to Buddha in the temple. Then people will do the ceremony, eat rice bowl "in the afternoon will be set fair or preaching Royal Mahachat. Piece popular sermon on Thomas Yee Peng is the chapter and chapter Himaphan Tree. The atmosphere in the work.

Evening is the most important part of the Yi Peng. Villagers will be towed to measure children. Phang feel the beat, express the altar. And listening to a sermon Sun beat New Song Phang feel unsure. Then the floating light To worship the heaven Ketkaew Chulamanee Daowadung. As well as dispel relief as well. Then the floating jack-o'-lantern To worship Buddha's footprint on the river Nam who in India Then the entertainment shows such as candles dance dance dance sword dance nail smack dance video dance dance Zheng T, etc fireworks, fireworks lit the lamps are all over the ground and surface water.

Current Yi Peng Festival is a tradition that people know. And a tourist attraction for visitors from around the ancient Lanna culture.

ประเพณียี่เป็ง
ท้ายฝนต้นหนาว บรรยากาศของท้องฟ้าอันสวยงาม บ่งบอกถึงการใกล้ถึงประเพณีบุญประเพณีเมืองเหนือ อีกครั้ง คือ “ประเพณียี่เป็ง”

ประเพณียี่เป็ง คือ ประเพณีลอยกระทงของทางภาคเหนือ ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่เหนือหรือเดือน ๑๒ ของทางภาคกลาง

ก่อน ถึงวันยี่เป็น ๒-๓ วัน ตามวัดวาอารามและบ้านเรือนของชาวล้านนาจะประดับตกแต่งหน้าบ้าน หน้าประตูวัด และหน้าวิหารด้วยทางมะพร้าวสด ต้นกล้วย ต้นอ้อย โคมไฟ ตุง และดอกไม้ต่างๆ เรียกว่า “ประตูป่า” สำหรับในวัดมีจุดประสงค์เพื่อการสร้างบรรยากาศในการตั้งธรรมหลวง หรือเทศน์มหาชาติในวันยี่เป็ง

นอกจากนี้ยังมีการทำโคมไฟ ต่างๆ เช่น โคมแขวน โคมหูกระต่าย โคมลอย รวมถึงประทีปที่จุดถวายพระ เรียกว่า “ผางผะตี๊ด” (ผางคือถ้วยใบเล็กๆ ผะตี๊ดคือประทีป) การทำโคมโขมดเพื่อลอยในน้ำ เรียกว่า “ลอยโขมด” การลอยโขมดก็คือลอยกระทงนั่นเอง

ทางจังหวัดลำปาง มีการทำโคมลอยโขมดเป็นรูปเรือ เรียกว่า “ล่องสะเปา” เพื่อรำลึกถึงพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์

ใน วันยี่เป็ง อาจารย์วัดหรือมัคนายกจะทำพิธีถวายข้าวมธุปายาสแก่พระประธานในวิหาร จากนั้นชาวบ้านจะทำพิธี “ทานขันข้าว” ในตอนบ่ายจะเป็นการตั้งธรรมหลวงหรือการเทศน์มหาชาติ กัณฑ์ที่นิยมเทศน์ในวันยี่เป็งคือ กัณฑ์มัทรี และกัณฑ์หิมพานต์ ซึ่งเข้ากับบรรยากาศงาน

ตอนค่ำ ซึ่งเป็นตอนที่สำคัญที่สุดของยี่เป็ง ชาวบ้านจะจูงลูกหลานมาวัด จุดผางผะตี๊ดขึ้นบูชาพระ และฟังเทศน์อานิสงค์ผางผะตี๊ด จากนั้นจะทำการลอยโคม เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ รวมถึงเป็นการปัดเป่าเคราะห์ภัยอีกด้วย จากนั้นจึงทำการลอยโขมด เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ฝั่งแม่น้ำนัมทานทีในประเทศอินเดีย จากนั้นมีการแสดงมหรสพต่างๆ เช่น ฟ้อนเทียน ฟ้อนผาง ฟ้อนดาบ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนวี ฟ้อนที ฟ้อนเจิง ฯลฯ จุดพลุ ดอกไม้ไฟ จุดโคมต่างๆสว่างไสวไปทั่วพื้นดินและพื้นน้ำ

ปัจจุบันประเพณียี่เป็งเป็นประเพณีที่คนทั่วไปรู้จัก และเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศเพื่อมาชมประเพณีเก่าแก่ของล้านนา